อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั้งคิด ทำให้ผืนป่าถูกทำลาย สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และโลกที่ถูกบั่นทอนลงไปทุกวัน
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว Thailand Sustainability จึงเกิดขึ้น เพื่อร่วมมือและรวมพลัง สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือจากคนธรรมดา ไปจนถึงความร่วมมือจากองค์กรใหญ่ของไทย เราเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืน” (Sustainability Shapers) เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะใช้ต่อไปในอนาคต ทุกคนที่สนใจสามารถมาร่วมแบ่งปันความรู้ ร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมดีๆ รวมไปถึงการแนะแนวโอกาสทางอาชีพผ่านเวทีแห่งความสร้างสรรค์นี้ได้
เราเชื่อมั่นว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (sustainable development) จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราทุกคนสามารถฟันฟ่าอุปสรรค ภาวะวิกฤตต่างๆ และช่วยปรับเปลี่ยนให้โลกของเราสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์และสร้างสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ หรือการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน พร้อมทั้งสร้างประโยชน์สูงสุดเพื่อให้คนรุ่นหลังได้อาศัยในโลกที่สวยงาม
“ความยั่งยืน” คำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ในประเทศไทยนั้น คำว่าความยั่งยืนมักถูกแสดงออกมาในภาพของการอนุรักษ์ธรรมชาติ ปลูกป่าปลูกต้นไม้ ซึ่งความยั่งยืนนั้นอยู่ได้ในทุกมิติ โดยความยั่งยืนนั้นคือความสามารถในการอดทนหรือคงทนต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเกิดภัยธรรมชาติ หรือสิ่งใดก็ตามที่มีโอกาสจะสร้างแรงกระทบ ดังนั้นเมื่อมีความยั่งยืนก็จะไม่ล้มลงไปง่ายๆ
ดังนั้น ความยั่งยืนก็คือการสร้างระบบที่สามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ส่งเสริมให้ทุกส่วนประกอบในระบบนั้นมีความสามารถในการทนต่อความเปลี่ยนแปลงได้ เป็นกลไกที่จะสามารถอยู่รอดได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ดังนั้น ความยั่งยืนก็คือการสร้างระบบที่สามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ส่งเสริมให้ทุกส่วนประกอบในระบบนั้นมีความสามารถในการทนต่อความเปลี่ยนแปลงได้ เป็นกลไกที่จะสามารถอยู่รอดได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
แทบจะไม่ต้องเดากันเลย... ความยั่งยืนนั่นเอง
หากเราบริหารจัดการทรัพยากรให้ดี ควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทั้งเราและโลก เราก็จะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย แต่ทางแก้เหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
การสร้างความยั่งยืนสามารถเริ่มได้จากตัวเรา เช่น ใช้จ่ายแต่พอดี การลดปริมาณขยะและการแยกขยะ สนับสนุนสินค้าคาร์บอนต่ำและสินค้าท้องถิ่น เมื่อทำได้แล้วก็เริ่มกระจายความคิดนี้ไปสู่คนรอบตัว รวมไปถึงการสนับสนุนนโยบายและธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะจากทางภาครัฐหรือเอกชนอีกทางหนึ่ง
เป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้อาจจะฟังดูยิ่งใหญ่เกินจินตนาการ แต่เรามีคนอีกมากมายที่พร้อมจะร่วมกันในหนทางนี้ มาเริ่มเปลี่ยนโลกกันเถอะ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยนั้นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นหลักการสำคัญที่ประเทศไทยนั้นได้นำมาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงชี้แนวทางการปฏิบัติฅนที่ควรจะเป็น เพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งเป็นแนวทางที่มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ไปถึงประเทศ การดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง การไม่ยึดถือในวัตถุหรือความมั่งคั่งจนมากเกินไป ในขณะเดียวกันก็ไม่ย่อหย่อนต่อการพัฒนา เป็นการสร้างสมดุลในชีวิต และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในยามวิกฤต
แต่ถึงแม้จะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจในหลักการและแก่นแท้แห่งภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรจะนำมายึดถือ เพราะหลายๆ คนยังเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือการใช้ให้น้อยที่สุด ยึดติดอยู่กับสิ่งที่มีโดยไม่ขวนขวายหาเพิ่มใดๆ ทั้งนั้น ซึ่งนั่นก็คงไม่ใช่ความเชื่อที่ดีสักเท่าไร และถ้าหากทุกคนคิดแบบนั้นประเทศก็คงไม่เป็นอันพัฒนากัน
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยนั้นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นหลักการสำคัญที่ประเทศไทยนั้นได้นำมาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงชี้แนวทางการปฏิบัติฅนที่ควรจะเป็น เพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งเป็นแนวทางที่มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ไปถึงประเทศ การดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง การไม่ยึดถือในวัตถุหรือความมั่งคั่งจนมากเกินไป ในขณะเดียวกันก็ไม่ย่อหย่อนต่อการพัฒนา เป็นการสร้างสมดุลในชีวิต และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในยามวิกฤต
หลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ 3 ข้อ ยึดโยงอยู่กับ 2 เงื่อนไข ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ให้คำอธิบายของคุณสมบัติและเงื่อนไขเหล่านั้นเอาไว้ดังนี้
ความรู้
คุณธรรม
จะเห็นได้ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ปรัชญาที่จะส่งเสริมให้ผู้คนละทิ้งชีวิตบนโลกวัตถุนิยม หากแต่เป็นการให้รู้จักปรับสมดุลในชีวิต สร้างความพอดีอย่างมีเหตุผลและตระหนักรู้ในสถานการณ์และชีวิตของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันความเป็นไปของโลก ที่สำคัญคือต้องมีคุณธรรม เพื่อที่จะไม่ใช้ชีวิตบนความทุกข์ยากของผู้อื่น เป็นพลเมืองที่ซื่อสัตย์ เป็นคนดีที่เหมาะสมกับสังคมไทย
ในแง่ของสังคมและประเทศชาติ เศรษฐกิจพอเพียงจะมุ่งเน้นไปที่การทำธุรกิจ ผลิต หรือบริโภคให้อยู่ภายในขอบเขตที่เรามีกำลังมากพอที่จะบริหารได้ และควรที่จะหาทางพัฒนาวิธีการทำธุรกิจอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในตัวเองและลดความจำเป็นในการพึ่งพาผู้อื่น หลักเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการบริหารธุรกิจ และช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน โดยต้องให้ความสำคัญไปที่ความพอดี ความมีเหตุผล และคอยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทั้งตนเองและสังคม
สรุปคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นคือการตั้งตนบนทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไปในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่การประหยัดจนไม่เกิดการใช้จ่าย แต่ก็ไม่ได้ฟุ่มเฟือยจนไม่เหลือเก็บ เพียงแต่เป็นการวางแผนการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบ ใช้จ่ายตามกำลังที่มี ตระหนักถึงกำลังการใช้จ่ายของตัวเอง มีความรู้ และมีคุณธรรมไม่ทำให้ใครต้องเดือดร้อน
หากเราทุกคนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาปฎิบัติใช้อย่างเคร่งครัด สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html