การกำหนดบทบาทของธุรกิจ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่หลายๆ ครั้งในประวัติศาสตร์มักเกิดจากเหตุหายนะ แต่ในช่วงหลังๆ มานี้ล้วนมีมนุษย์เป็นต้นเหตุ มีสัตว์หลายสปีชี่ส์ที่เริ่มสูญพันธ์ในอัตราที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ และสายพันธุ์รุกรานก็ได้เข้ามาคุกคามสายพันธุ์ท้องถิ่น เข้ามาเปลี่ยนระบบนิเวศที่ซับซ้อนให้เหลือเพียงสายพันธุ์รุกรานไม่กี่สายพันธุ์ มีรายงานจากองค์การสหประชาชาติที่พบว่ามีมากกว่าล้านสปีชี่ส์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผสมกับการตักตวงทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกินพอดีจะทำให้ระบบนิเวศล่มสลาย ทั้งจากการตัดไม้ทำลายป่าในระบบห่วงโซ่อุปทานของการเกษตรไปจนถึงผลกระทบต่อแนวปะการังที่เป็นผลมาจากอุณหภูมิของมหาสมุทรที่สูงขึ้น รวมทั้งไฟป่าที่ทำลายล้างประเทศออสเตรเลียและป่าแอมะซอน ส่งผลคุกคามไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก รวมถึงบริการของระบบนิเวศ (Ecosystem Services) ที่ป่าเหล่านั้นมอบให้ ในขณะที่ภาคเอกชนเพิ่งจะเริ่มให้ความสนใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกเท่านั้น
อีก 12 เดือนให้หลัง รวมถึงปีถัดๆ ไปจนถึงปี 2030 กลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกจะจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนแผนการที่ครอบคลุมเพื่อที่จะปกปักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพที่ยังเหลืออยู่บนโลกใบนี้ รวมถึงบริการของระบบนิเวศที่สามารถตีค่าเป็นเม็ดเงินได้นับหลายล้านล้านดอลล่าร์ และแม้ว่าความตระหนักรู้ต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเพิ่มสูงขึ้น แต่การแก้ไขปัญหานี้จากทางภาคเอกชนนั้นก็ยังไม่เพียงพอ ในปี 2020 ประเทศจีนจะทำการจัดประชุม Conference of Parties (COP) ครั้งที่ 15 ที่จะเน้นไปที่เรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้โลกช่วยกันหยุดยั้งการทำลายล้างความหลากหลายทางชีวภาพ ขยายระดับการอนุรักษ์ และวางแผนคาดเดาผลกระทบที่จะเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ในปีนี้นั้นภาคเอกชนได้ถูกคาดหวังว่าจะมีการแสดงออกที่มากกว่าการประชุมครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา เว้นเสียแต่ว่าผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะยกระดับปัญหานี้ขึ้นและช่วยกันวางแผนที่ครอบคลุมสำหรับโลกทั้งโลก ไม่อย่างนั้นการสูญพันธุ์จำนวนมากของสิ่งมีชีวิตและการล่มสลายของระบบความหลากหลายทางชีวภาพก็จะดำเนินต่อไป และผลที่จะตามมาทั้งในแง่ของสังคมและเศรษฐกิจของสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงเป็นสิ่งที่สุดจะคาดเดา
อ้างอิง https://trends.sustainability.com/2020/protecting-biodiversity/