จำนวนประชากรบนโลกกำลังเพิ่มพูนขึ้นและคาดว่าจะถึง 8.5 พันล้านคนภายในปี 2030 และภายใน 20 ปีข้างหน้า จำนวนประชาชนผู้ที่เป็นชนชั้นกลางจะเพิ่มขึ้นถึงราวๆ 3 พันล้านคน เพราะฉะนั้น การจัดการให้การบริโภคของผู้คนทั่วทั้งโลกไม่เกินขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วน
ความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกำลังเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ผู้บริโภคโดยฉพาะผู้ที่เป็นรุ่น Millennials และ Gen Z ต่างก็พากันกังวลเกี่ยวกับสภาวะของโลกนี้ พวกเขาจึงใช้วิธี ‘voting with their wallet’ หรือการให้กระเป๋าเงินตัดสินใจ โดยการเลือกแบรนด์ที่ให้สินค้าที่มีมูลค่าตรงตามมูลค่าในใจของพวกเขา และถึงแม้ว่าความตั้งใจและการกระทำจริงของผู้คนจะยังไม่มากเท่ากัน แต่ปริมาณข้อมูลที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ นั้นก็ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นกำลังปรับพฤติกรรมให้ใช้ชีวิตให้เป็นไปตามความตั้งใจของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ถึงแม้ว่าจะมีความตั้งใจที่ดี แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมาใช้หรือบริโภคได้ด้วยปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินหรือเรื่องเวลา ซึ่งถ้าหากจะปิดช่องโหว่ระหว่างปณิธานกับพฤติกรรม รูปแบบการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนทั้งระบบก็ควรจะถูกทำให้มีราคาถูกลงเพื่อให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
เราจะได้เห็นบริษัทจำนวนมากขึ้นที่จะตอบสนองต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการจัดหาสินค้าและบริการที่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถมีไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนได้ ทำให้สินค้าที่ยั่งยืนทั่วทั้งโลกมีราคาที่ลดลง และเรายังคาดหวังว่าธุรกิจจำนวนมากขึ้นจะมองไกลออกไปยิ่งกว่าการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ด้วยการเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียเอง เพราะผู้บริโภคนั้นคือแรงขับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะนำไปสู่การบริโภคอย่างยั่งยืน
อ้างอิง https://trends.sustainability.com/2020/sustainable-consumption/