Sustainable Finance การจัดการการเงินอย่างยั่งยืน

Global Trends | 16 กันยายน 2563

มุ่งไปสู่การเป็นกระแสหลัก! การเงินแบบยั่งยืนกำลังกลายเข้าสู่การเป็นกระแสหลักอย่างมั่นคง แม้ว่าจะเริ่มจากส่วนเล็กๆ ก็ตาม

จากการคัดเลือกด้วยข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (Environmental, Social and governance: ESG) ที่ดูมีความเป็นไปได้ที่จะลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ธนาคารและสถาบันการจัดการสินทรัพย์กำลังมองหาโอกาสเกี่ยวกับเรื่องของเงินปันผลระยะยาวที่จะโฟกัสไปที่ความเสี่ยงและโอกาสทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

บริษัทจัดการสินทรัพย์ระดับโลกในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลียกำลังให้ความสนใจกับการดึงดูดลูกค้าให้มาสนใจในสินค้าที่มีประโยชน์ทั้งต่อสังคมและต่อสิ่งแวดล้อม ธนาคารและสถาบันการลงทุนหลายแห่งต่างก็ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในเรื่องของการที่ยังคงสนับสนุนบริษัทที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปริมาณมากจากเชื้อเพลิงฟอสซิล สถาบันทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งกำลังเริ่มที่จะรับฟัง ในขณะที่การเจริญเติบโตของสินค้าที่มาจากบริษัทที่ทำได้ดีในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลจะน่าประทับใจในช่วงสองปีที่ผ่านมา และการถอนการลงทุนในถ่านหินจะเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งสองสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นในปริมาณที่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับตลาดการลงทุนโลก ถ้าหากระดับนานาชาติต้องการคงระดับการเพิ่มอุณหภูมิให้ได้อยู่ในช่วง 1.5 องศาเซลเซียสและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ได้ในปี 2030 การเงินโลกจะต้องเลิกการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทีละน้อย แล้วหันไปปรับเปลี่ยนรูปแบบของการทำอุตสาหกรรมแทน

การคาดการณ์ในปี 2020 

การที่มีการออกตราสารหนี้ที่เกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้นอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับการเติบโตขึ้นของความต้องการการลงทุนที่ให้ผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เราอาจจะได้เห็นการศึกษาตรวจสอบตลาดสินค้า ESG ที่กำลังเติบโตขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรมที่จะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบเกี่ยวกับผลกระทบของสินค้าด้วยการใช้งานข้อมูลการวัดผลทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้น ในขณะเดียวกัน นักลงทุนจะเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นการทำผ่านทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันโดยตรงกับระดับผู้บริหาร และการโหวตผ่านตัวแทนและการถอนการลงทุน

ข้อแนะนำสำหรับองค์กรธุรกิจ

  • เมื่อบริษัทจัดการทรัพย์สินมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงและโอกาสของ ESG แล้ว พวกเขาจะคาดหวังมากขึ้นและจะอยากได้ข้อมูลและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น บริษัทจะต้องแสดงให้เห็นว่าความยั่งยืนได้ถูกบูรณาการเข้าไปในการประกอบธุรกิจและทีมนักลงทุนสัมพันธ์ควรจะต้องสามารถสื่อสารเรื่องของข้อมูลเปรียบเทียบด้านความยั่งยืนให้กับนักลงทุนได้
  • เมื่อมีการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืน บริษัทจะต้องการข้อมูลที่แม่นยำและได้มาตรฐานมากขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการประเมินผลกระทบ
  • บริษัทควรที่ดูแลการลงทุนของตนเองโดยเฉพาะเงินบำนาญของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนของตนเอง หากธุรกิจมีความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลงทุนในแง่บำนาญก็ควรจะสอดคล้องกับเป้าหมายนั้น การสนับสนุนการขายหุ้นจากบริษัทที่ปล่อยคาร์บอนเป็นจำนวนมากแล้วนำมาใช้จ่ายเป็นเงินบำนาญเป็นขั้นตอนที่ท้าทายที่บริษัทต่างๆ ควรดำเนินการ

อ้างอิง https://trends.sustainability.com/2020/sustainable-finance/